องค์การกุศลสาธารณะ หรือองค์การเอกชนต่างประเทศ
หลักฐานเอกสารประกอบ

  1. หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า
  2. หนังสือรับรองจากองค์การกุศลสาธารณะ หรือองค์การเอกชนต่างประเทศ
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน ( ตท . 2)
  4. ใบอนุญาตให้เข้ามาดำเนินงานขององค์การเอกชนต่างประเทศ ( ซึ่งยื่นต่อหน่วยงานของ 
    รัฐวิสาหกิจ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า)
  5. หนังสือชี้แจงการทำงานของคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงานในองค์การกุศลสาธารณะ หรือองค์การ 
    เอกชนต่างประเทศตามรูปแบบที่ สตม . กำหนด
  6. บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงาน
  7. กรณีมีรายได้ ต้องมี
    • รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
    • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ . ง . ด . 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป)

สมาคมหรือมูลนิธิ 
หลักฐานเอกสารประกอบ
  1. หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า (กรณี ONE STOP )
  2. หนังสือรับรองจากสมาคม หรือมูลนิธิ
  3. สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งสมาคม หรือมูลนิธิ
  4. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน ( ตท . 2)
  5. หนังสือชี้แจงการทำงานของคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงานในองค์การกุศลสาธารณะตามรูปแบบที่ สตม . กำหนด
  6. บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงาน
  7. กรณีมีรายได้ ต้องมี
    • รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
    • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ.ง.ด. 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีต่อไป)

การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีเผยแพร่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง
  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. กรณีขออยู่ต่อเพื่อ 

    เข้ามาเผยแพร่ศาสนา 

    หลักฐานเอกสารประกอบ
    1. หนังสือรับรองจากรมการศาสนา หรือกระทรวงวัฒนธรรม
    2. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน ( ตท . 2)
    3. หนังสือรับรองจากคณะ หรือสำนักที่คนต่างด้าวเข้ามาประจำ
    4. บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ข้ามาเผยแพร่ศาสนาประจำคณะ หรือสำนัก แยกประเภทคนมีถิ่นที่อยู่และคนอยู่ชั่วคราว
    5. กรณีมีรายได้ ต้องแสดง
    • รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
    • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ.ง. ด. 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป)

เพื่อศึกษาพุทธศาสนา หรือปฏิบัติศาสนกิจ 
หลักฐานเอกสารประกอบ

  1. หนังสือรับรองจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
  2. หนังสือรับรองจากเจ้าอาวาสที่คนต่างด้าวเข้ามาศึกษา 

การยื่นคำร้องขออยู่ต่อกรณีเผยแพร่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง
  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. กรณีขออยู่ต่อเพื่อ 

    ค้นคว้าทาง วิทยาศาสตร์ หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร 

    หลักฐานเอกสารประกอบ
    1. หนังสือรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า ( กรณีทำการวิจัย ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ภาครัฐ ) หรือ หนังสือรับรองจากสถานทูต สถานกงสุล ( กรณีระยะสั้นไม่เกิน 90 วัน)
    2. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือสำเนาใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2) จากกรมการจัดหางาน
    3. กรณีมีรายได้ ต้องแสดง
      • รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
      • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด (ภ.ง.ด. 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีต่อไป) 

การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน
  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. ใบอนุญาตทำงาน หรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน (ตท. 2)
  4. หนังสือรับรองจากกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือเทียบเท่า
  5. บัตรประจำตัวผู้สื่อข่าว
  6. หนังสือรับรองการมีรายได้ หรือสัญญาว่าจ้าง
  7. กรณีมีรายได้ ต้องมี
    • รายการเสียภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ( กรณีปีแรก) และ
    • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด ( ภ . ง . ด . 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน (กรณีปีต่อไป) 

เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขออยู่ต่อในกรณีเป็นเจ้าหน้าที่ของสาขาธนาคารต่างประเทศ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ และ สำนักงานผู้แทนของธนาคารต่างประเทศ
  1. แบบฟอร์ม ตม. 7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป และเงินค่าธรรมเนียม 1900 บาท
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
  3. หนังสือรับรองจากธนาคารแห่งประเทศไทย
  4. สำเนาใบอนุญาตทำงาน หรือสำเนาใบรับคำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว (ตท. 2) จากกรมการจัดหางาน
  5. แบบหนังสือรับรองการจ้างงาน
  6. หนังสือชี้แจงขออนุมัติให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรพร้อมรับรองเงินเดือน
  7. หลักฐานการชำระภาษีของคนต่างด้าวและพนักงานคนไทยเดือนล่าสุด (ภ.ง.ด. 1) พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  8. รายชื่อคนต่างด้าวที่ปฏิบัติหน้าที่ในธนาคาร
  9. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือหนังสือมอบอำนาจซึ่งได้รับการรับรองจาก NOTARY PUBLIC
  10. ใบจดทะเบียนพาณิชย์
  11. ใบรับรองอนุญาตจัดตั้งสาขาธนาคารต่างประเทศ/ สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศ/ สำนักงานผู้แทนธนาคารต่างประเทศ
  12. ใบอนุญาตให้ประกอบธนาคารพาณิชย์
  13. ใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ. 20)
  14. แบบแสดงรายงานเสียภาษีเงินได้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50 ปีล่าสุด)
  15. งบและบัญชีกำไรขาดทุนปีล่าสุด
  16. แผนภูมิ
  17. แผนที่ตั้งธนาคาร
  18. กรณีขออยู่ต่อปีต่อไป
    • ต้องแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีล่าสุด (ภ.ง.ด. 91) พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  19. กรณีอยู่ติดตาม ต้องมี
    • ทะเบียนสมรส/ สูติบัตร หรือหลักฐานการเป็นครอบครัว ( หากมีการแปลจะต้องรับรองโดยสถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศนั้น ๆ หรือกระทรวงการต่างประเทศ) และหนังสือรับรองของผู้ที่ได้รับสิทธิ์ 

การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติงานช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญ


เพื่อปฏิบัติงานให้กับส่วนราชการ

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรมหรือเทียบเท่า
  6. หลักฐานแสดงความรู้ความสามารถ การผ่านงาน
  7. ใบอนุญาตทำงานหรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน
  8. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด. 1) การยื่นคำร้องในปีต่อไปให้แสดงหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 91) ในรอบปีผ่านมาแสดง
  9. กรณีมีผู้ติดตาม (สามี/ภรรยา , บุตร) ให้มีหนังสือรับรองของผู้ยื่นคำร้องประกอบพร้อมหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ด้วย โดยแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานทูต หรือกงสุลของคนต่างด้าว
  10. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น


เพื่อปฏิบัติงานให้กับส่วนเอกชน

  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. หนังสือชี้แจงรายละเอียดจากบริษัท ห้าง ร้าน หลักฐานการจดทะเบียนนิติบุคคล
  6. ใบอนุญาตทำงานหรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน
  7. หลักฐานการนำเข้าเครื่องจักร
  8. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น 

การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติงานในสำนักงานนิติบุคคลต่างประเทศ(ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ หรือ สำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ)
  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. ค่าธรรมเนียม 1,900.- บาท
  5. หนังสือรับรองและชี้แจงตำแหน่งของผู้ยื่นคำร้องรวมทั้งคนต่างด้าวอื่นๆที่ปฏิบัติงานว่า มีหน้าที่อะไรบ้าง มีเหตุผลใดต้องใช้คนต่างด้าวทำหน้าที่ นั้นๆ
  6. ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวหรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน
  7. หนังสือรับรองการจดทะเบียนจากกระทรวงพาณิชย์
  8. ใบขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
  9. หนังสือมอบอำนาจจากสำนักงานใหญ่
  10. หลักฐานการนำเงินเข้ามาในราชอาณาจักรตามเงื่อนไข (ธ.ต. 03 หรือ ธ.ต. 04)
  11. เอกสารสัญญาประกอบธุรกิจ (ถ้ามี)
  12. หลักฐานการชำระภาษีเงินได้ของพนักงานคนไทยและคนต่างด้าว(ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด กรณียื่นคำร้องขอยู่ต่อปีต่อไป ให้แสดงหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวใน รอบปีที่ผ่านมา
  13. กรณีมีผู้ติดตาม (สามี/ภรรยา , บุตร) ให้มีหนังสือรับรองของผู้ยื่นคำร้อง ประกอบพร้อมหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ ด้วยโดยแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานทูต หรือกงสุลของคนต่างด้าว
  14. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

* ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (สำนักงานผู้แทน) หมายถึง ธุรกิจที่บริการ 
เกี่ยวกับการหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยให้แก่สำนักงานใหญ่ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่ซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทย การให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าของสำนักงานใหญ่ที่จำหน่ายแก่ตัวแทนหรือผู้ใช้สินค้า การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่และการรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบ

** สำนักงานภูมิภาค หมายถึง สำนักงานของบริษัทข้ามชาติที่ตั้งในประเทศอื่น นอกจากประทศที่จดทะเบียนเป็นสำนักงานใหญ่ โดยไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศที่เข้าไปจัดตั้งเพื่อให้บริการในด้านต่างๆ ได้แก่ การติดต่อประสานงานและการกำกับการดำเนินงานของสาขาหรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่ การให้คำปรึกษาและบริการในการจัดการฝึกอบรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์และการวิจัยและพัฒนา โดยมีรายได้จากการบริการนั้นและไม่มีอำนาจรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคลในประเทศ 
ที่เข้าไปตั้ง ทั้งนี้ โดยได้รับเงินค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น

*** บริษัทข้ามชาติ (สำนักงานสาขา) หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศอื่น 


การยื่นคำร้องขออยู่ต่อเพื่อปฏิบัติงานในสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
  1. ตม. 7
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม
  4. หนังสือรับรองและชี้แจงตำแหน่งของผู้ยื่นคำร้องขออยู่ต่อฯ รวมทั้งคนต่างด้าวอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานในสำนักงานนั้น ว่ามีหน้าที่อะไรและมีเหตุผลใดที่ต้องจ้างคนต่างด้าวทำหน้าที่นั้นๆ
  5. ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวหรือใบรับคำขออนุญาตทำงาน
  6. หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท จำกัด , ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ. 20) บัญชีผู้ถือหุ้นบริษัท หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนจากกระทรวงพาณิชย์ หรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
  7. หลักฐานการชำระภาษีเงินได้ของพนักงานคนไทยและคนต่างด้าว (ภ.ง.ด. 1) เดือนล่าสุด ถ้าเป็นการยื่นคำร้องขออยู่ต่อปีต่อไปให้แสดงหลักฐานการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ( ภ.ง.ด. 91) ของคนต่างด้าวในรอบปีที่ผ่านมา
  8. กรณีมีผู้ติดตาม (สามี/ภรรยา , บุตร) ให้มีหนังสือรับรองของผู้ยื่นคำร้อง ประกอบพร้อมหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ ด้วย โดยแปลเป็นภาษาไทยและรับรองโดยสถานทูต หรือกงสุลของคนต่างด้าว
  9. เจ้าหน้าที่สงวนสิทธิ์ที่จะตรวจสอบ หรือเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

** หลักเกณฑ์การพิจารณาทั่วไปต้องเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญเป็นประโยชน์ต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และประชาชน และมีการลงทุนสูง ** 


การยื่นคำร้องขออยู่กรณีผู้ลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท
  1. หลักฐานรับรองการโอนเงินเข้ามาจากต่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท โดยคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอต้องเป็นผู้สั่งโอนเงินจากต้นทางในต่างประเทศหรือเป็นผู้รับเงินปลายทางในประเทศ
  2. หลักฐานการนำเงินเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาทไปลงทุน หลังจากวันที่โอนเงินเข้ามาแล้ว 
    กรณีใดกรณีหนึ่งหรือในหลายกรณีรวมกันดังต่อไปนี้
      • ฝากเงินประเภทฝากประจำกับธนาคารของรัฐ( ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ )
      • ซื้อพันธบัตร ซึ่งออกโดยส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจทั้งนี้ต้องซื้อจากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือซื้อจากตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจากส่วนราชการหรือรัฐ วิสาหกิจนั้น
      • ซื้อห้องชุดในอาคารชุด จากเจ้าของโครงการตามราคาที่ได้จดทะเบียนกับส่วนราชการกรมที่ดิน
      • การลงทุนซึ่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศ

เงื่อนไขการอนุญาต
คนต่างด้าวต้องถือครองการลงทุนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา หากประสงค์จะเปลี่ยนช่องทางการลงทุนต้องมีหนังสือแจ้งขออนุญาตก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงเปลี่ยนช่องทางการลงทุนได้ ทั้งนี้การเปลี่ยนช่องทางการลงทุนตามที่ได้รับอนุญาตต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง